การกำเนิดและการแจกกระจายของภูเขาไฟในจังหวัดบุรีรัมย์
 
     ภูเขาไฟในบุรีรัมย์   เกิดจากการไหลทะลักของลาวา  (อาจมีการปะทุ ระเบิดบ้าง
 ถ้ามีก๊าซและไอน้ำร้อนเดือดมาก)  ตามแนวรอยเลื่อนแบบรอยเลื่อนย้อน  (Thrust-fault)
 โดยภูเขาไฟแจกกระจาย  (distribution)
อยู่ห่างจากแนวรอยเลื่อนขึ้นไปทางเหนือเป็นระยะ  ๆ
 ภูเขาไฟแนวแรกอยู่ห่างจากแนวรอยเลื่อนประมาณ  40  กม.  ได้แก่ภูเขาไฟคอก
 แนวที่สอง ห่างจากแนวรอยเลื่อนประมาณ  45  กม.ได้แก่ภูเขาไฟหลุบ
 และภูเขาไฟไปรบัดแนวที่สามห่างจากแนวรอยเลื่อนประมาณ  50  กิโลเมตร  ได้แก่
 ภูเขาไฟพนมรุ้ง  ภูเขาไฟอังคารและภูเขาไฟกระโดง
ซึ่งอยู่ห่างจากแนวรอยเลื่อนมากที่สุด  ประมาณ  75  กม.
 ภูเขาไฟแต่ละแนวเป็นภูเขาไฟที่ดับ แล้วมีอายุแตกต่างกันไป
 แนวที่อยู่ใกล้รอยเลื่อยมากที่สุด  (แนวแรก)  มีอายุเก่าแก่ที่สุด  คือ  ประมาณไม่เกิน  2
 ล้านปี  ซึ่งมีสัณฐานและร่องรอยการ ไหลของธารลาวา  ถูกทำลายเกือบหมด
 หินที่ผุกร่อนง่ายสลายกลายเป็นดินหมดแล้ว  คงเหลือแต่หินที่แข็งแกร่งเท่านั้น
 และภูเขาไฟแนวทางเหนือสุด ได้แก่  ภูเขาไฟกระโดง  มีอายุน้อยที่สุด  คือ  ประมาณ
 0.92-0.3  ล้านปี  (K/Ar   dating)
 ภูเขาไฟกระโดงเป็นภูเขาไฟที่มีอายุน้อยที่สุดลูกหนึ่งของ
ประเทศไทยร่องรอยการปะทุระเบิด   การไหลหลากของธารลาวา
เศษหินที่ผุสลายตัวง่าย   เช่น  slag,   volcanic   cinder,   volcanic   bomb,   vclcanic
tuff,   volcanic   breccia   เป็นต้น   ยังคงพบอยู่ทั่วไป  ตามบริเวณช่องปล่องปะทุระเบิด
(volcanic vent) หรือเขตไหล่เนินภูเขาไฟ

  HOME