ภูเขาไฟกระโดง
ภูเขาไฟกระโดง อยู่ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ห่างจากที่ตั้งจังหวัดบุรีรัมย์
ประมาณ
0.3 กิโลเมตร ลักษณะซากปล่องปะทุเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก
เนื่องจากส่วนช่องปะทุด้านตะวันออกและตะวันตกพังทะลาย
ซึ่งเป็นแนวหินที่หลอมละลาย (Iava)
ไหลออกไปสู่บริเวณโดยรอบแต่ก็ยังปรากฎรูปทางของปากปล่องช่องปะทุอย่างชัดเจน
มีน้ำขังกลายเป็นทะเลสาบบนปากปล่อง ภูเขาไฟที่สวยงามที่สุดในประเทศไทย
สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 283 เมตร ประกอบด้วยหินบะซอลต์ที่มีรูพรุน
พวก
vesicular basalt และ scoriaceous basalt หินตะกรันภูเขาไฟ
(Pyroclastic materials)
เป็นพวก วัสดุที่ถูกแรงระเบิดโยนขึ้นไปในอากาศแล้วตกลงมา
อาจเป็นลาวาเย็นตัวในอากาศ หรือตกลงมาแล้วเย็นแข็งตัวก็ตาม
เช่น voicanic bomb,
volcanic ash, volcanic breccia และ volcanic cinder
หินเหล่านี้จะตกลงมา
ทับถมอยู่โดยรอบของปากปล่องช่องปะทุพวก volcanic
bombs จะมีมากกว่าภูเขาไฟอื่น ๆ
ในเขตอีสานใต้ และในประเทศไทยมีลักษณะรูปร่างเป็นแบบหยดน้ำ
จานบิน หัวมันเทศ
(fusiform bomb) มีขนาดเล็กตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์
กลางประมาณ 2-3 ซม. ถึงเกือบ 2 เมตร
และแต่ละก้อนแสดงร่องรอยการหลอมละลาย และการบิดตัว
เนื่องจากถูกแรงเหวี่ยงปลิวขึ้นไปในอากาศ
หินบะซอลต์ใกล้ช่องปะทุระเบิดมีลักษณะแสดงการไหล
(Iava flow) ชนิด pahoehoe
มีผิวเรียบ (dermolithic solidification) แบบบิดเป็นเกลียวเชือก
(ropy or tape stry like)
หรือคล้ายผ้าพับทับซ้อนกันเป็นชั้น ๆ (Thin sheets)
เนื้อหินเป็นเนื้อละเอียด สีดำถึงเทา
มีผลึกแร่ขนาดเล็ก ของแร่โอลิวีน (olivine) เนื้อพื้น
(groundmass)
เป็นแร่เฟลด์ปาร์ชนิดแพลจิโอเคลส มีผลึกของแร่อะพาไทต์
(apatite) และแมกนีไทด์
(magnetite) ออไจต์ (augite) และพบแร่ซีโอไลด์แคลไซด์
(calcite)
ตกผลึกในช่องว่างของหิน
เนินภูเขาไฟกระโดง
มีธารลาวาไหลแผ่กระจายโดยรอบปล่องช่องปะทุ
ซึ่งอยู่ในเขตศูนย์กลางเนินภูเขาไฟนี้ ธารลาวาแผ่กระจายคลุมพื้นที่ประมาณ
120
ตารางกิโลเมตร เป็นภูเขาที่มีขนาดพื้นที่มากที่สุดของจังหวัดบุรีรัมย์
บริเวณตอนกลางของเนินยังคงเห็นร่องรอยรูปทรงปากปล่องช่องปะทุที่มีการพ่นปะทุ
(ระเบิด) ของหินตะกรันภูเขาไฟ กลุ่มฝุ่นเถ้าถ่าน
(Volcanic dust and volcanic ash)
กลุ่มก๊าซ ไอน้ำเดือดจัด และการไหลหลากของธารลาวาออกมา
หินบะซอลต์บริเวณปากปล่องจะมีฟองอากาศ ฟองก๊าซต่าง
ๆ แทรก
บางก้อนมีรูพรุนคล้ายรังปลวกที่ เรียกว่า "scoria"
หากมีขนาดใหญ่พอ
จะสามารถลอยน้ำได้
หินบะซอลต์บางก้อนเนื้อแน่นและที่ผิวก้อนหินมีริ้วรอยการหลอมละลายการไหล
ผิวหินเรียบ บิดตัว เห็นได้ชัดเจน
ลักษณะต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้
เกือบจะไม่พบในภูเขาไฟลูกอื่น ๆ ในประเทศไทยเลย
ทั้งนี้เพราะภูเขาไฟกระโดง
มีอายุน้อยที่สุด คือ ประมาณ 0.9-0.3 ล้านปี
ดังนั้น ลักษณะของหินยังสด
ผุสลายตัวยังไม่มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาไฟ
กระโดงเป็นภูเขาไฟลูกเดี่ยวในประเทศไทยที่พบ "Volcanic
bomol-6001417" มากที่สุด
มีความหลากหลายทั้งรูปร่างและขนาดอีกด้วย
HOME