ภูเขาไฟพนมรุ้ง

     ภูเขาไฟพนมรุ้ง  ตั้งอยู่ในบริเวณติดต่อระหว่างเขตอำเภอนางรอง
 ประโคนชัยและละหานทราย  ห่างจากที่ตั้งตัวจังหวัดลงไป ทางใต้ประมาณ 70 กม.
มีพื้นที่ประมาณ 20 ตารางกิโลเมตรมีช่องปะทุระเบิดอยู่ตรงศูนย์กลางของเขตภูเขาไฟ
 และมีลักษณะคล้ายชามยักษ์วางหงายอยู่บนเนินกว้างประมาณ 300 เมตร
ยอดเนินภูเขาไฟ สูงประมาณ 383 เมตร จากระดับน้ำทะเล  เนินภูเขาไฟกว้างประมาณ 4
กิโลเมตร ยาวประมาณ 6 กิโลเมตร
 วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ประกอบด้วยหินบะซอลต์ที่มีรุพรุนเป็นส่วนมาก
มีสีเทา-ดำวางทับบนหิน ทรายและทรายแป้งหน่วยหินโคกกรวด
หินบะซอลต์ประกอบด้วยแร่โอลิวีน ไพรอกซีน (pyroxene) แร่เฟลด์สปาร์ ชนิดแอนดีซีน
และอัลไบต์ (albite) จัดเป็นหินบะซอลต์พวก hawaiite บนยอดเขาปาก
ช่องปะทุระเบิดด้านใต้เป็นที่ตั้งของปราสาทหินทรายและหินทรายแป้ง (Sandstone and
siltstone) สีน้ำตาแดง-ชมพูของหินกลุ่มโคราช (khorat group)
ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีในนามปราสาทหินพนมรุ้ง
บนไหล่เนินภูเขาไฟทิศทะวันออกเฉียงเหนือพบแร่รัตนชาติพวกโอปอล์ (opal)
สีน้ำตาลกาแฟ  เป็นโอปอล์ชนิดธรรมดาและบริเวณที่ราบด้านใต้มีรัตนชาติพวกควอร์ตซ์
(quartz) อาทิ โป่งขาม เป็นต้น
     ภูเขาไฟพนมรุ้งเป็นภูเขาไฟที่สูงที่สุดในจังหวัดบุรีรัมย์
เกิดจากธารลาวาที่หนืดข้นมาก  เมื่อไหลทะลักออกจากปากปล่องช่องปะทุ
ไปไม่ไกลก็เย็นแข็งตัว จึงมีการทับถมสะสมของหินลาวาในแนวดิ่งมากกว่าในแนวราบ
แตกต่างจากภูเขาไฟกระโดงอย่างชัดเจน
 บริเวณปากปล่องช่องปะทุจะมีโครงสร้างเป็นแอ่งลึกและลาดชันมาก  รูปร่าง
กลมไม่มีร่องรอยการยุบตัว  หากมีน้ำขังมากจะกลายเป็นทะเลสาบบนปล่องภูเขาไฟ
(Crater lake) ที่สวยงามแห่งหนึ่งของประเทศที่เดียว
โดยเฉพาะหากขึ้นไปยืนมองจากขอบปากปล่องช่องปะทุทางด้าน ทิศใต้
ซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาทหินพนมรุ้งศาสนสถานของศาสนาพรหมณ์  ลัทธิไศวนิกาย
 ปราสาทแห่งนี้เป็นปราสาทที่สวยงามและตั้งอยู่บนเนินภูเขาไฟสูงที่สุดในประเทศไทย
 วัสดุก่อสร้างของปราสาทหินพนมรุ้ง ส่วนใหญ่เป็นหินทราย
 รองลงมาเป็นหินภูเขาไฟประเภทหินทัฟฟ์ (Volcanic Tuff) และอิฐ
ส่วนที่เป็นหินทรายและหินทัฟฟ์ จะตัดหินเป็นแท่งก้อนเล็ก-ใหญ่  แตกต่างกัน
 หินทัฟฟ์มักมีขนาดกว้างประมาณ 35 ซม. ยาวประมาณ 50 ซม. และหนาประมาณ
30-40 ซม. และพบอยู่ในตอนล่างและเป็นฐานขององค์ปราสาทหินแห่งนี้

  HOME