ภูเขาไฟอังคาร

     ภูเขาไฟอังคาร   อยู่ในเขตอำเภอนางรอง
และละหานทรายอยู่ห่างจากจังหวัดบุรีรัมย์ ประมาณ 74 กม. มีพื้นที่ประมาณ 90
ตารางกิโลเมตร เนินภูเขาไฟวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ กว้างประมาณ 12 กิโลเมตร
ยาวประมาณ 15 กิโลเมตร ยอดเขาสูงประมาณ 331 เมตร จากระดับน้ำทะเล
 ปากปล่องช่องปะทุระเบิดของภูเขาไฟ กว้างประมาณ 30 เมตร
บริเวณศูนย์กลางของเนินภูเขาไฟแสดงร่องรอยการยุบถล่ม  (subsidence)
เกิดเป็นภูมิสัณฐานแบบแอ่งคัลดีรา (caldera) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 900 เมตร
และมีผาชัน  (bluff)  โดยรอบและใจกลางของแอ่งคัลคีรานี้จะมีเนินภูเขาไฟรูปกรวย
(volcanic   cone)  มีปากปล่องช่องปะทุอยู่บนยอดเนินนี้ และเนินนี้ชาวบ้านเรียกว่า
"เขาป่าช้า"  เนื่องจากชาวบ้าน ใช้เป็นที่เผาศพส่งวิญญาณผู้ตายไปสวรรค์มาก่อน
ภูเขาไฟลูกนี้แสดงร่องรอยการยุบถล่มเป็นแนวซ้อนกันหลายชั้น
มีช่องทางการไหลของหินลาวาออกมาหลายจุด แสดงถึงการปะทุระเบิดที่มี
ความรุนแรงกว่าภูเขาไฟลูกอื่น  อย่างเห็นได้ชัด  หินภูเขาไฟเป็นหินบะซอลต์
มีสีดำปนเทามีทั้งเนื้อรูพรุน และเนื้อแน่น
พวกเนื้อมีรูพรุนจะพบในเขตใกล้ปล่องปะทุระเบิด  ส่วนพวกเนื้อแน่นพบอยู่
โดยรอบเนินของภูเขาไฟและมีการแตกเป็นแท่งรูปเสา  (columnar   jointing)
หินบะซอลต์ประกอบด้วยแร่โอลิวีน   ผลึกขนาดเล็กและละเอียด (olivine
microphenocrysts) แร่เฟลต์สปาร์ ชนิดแอนดีซีน   แร่แมกนีไทต์  อะพาไทต์  ไพรอกซีน
 คลอไรต์   (chlorite)  และแร่เซอร์เพนทีน (serpentine) จัดเป็นหินบะซอลต์ชนิด
Hawaiite  และหินบะซอลต์วางซ้อนทับอยู่บนหินทรายชุด
โคกกรวดและยังพบว่าหินทรายบางส่วนได้แปรไปเป็นหิน ควอร์ตไซต์  (quartzite)
     ภูเขาไฟอังคารเป็นภูเขาไฟที่มีร่องรอยการยุบถล่มของบริเวณโดยรอบของช่องปล่องปะทุ
  ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เกิดเป็นหุบเขาลึกคอนข้างกลม   มีหน้าผาชันโดยรอบ
 หากมีน้ำขังจะกลายเป็นทะเลสาบที่สวยงามมาก  คือ
 เป็นทะเลสาบที่อยู่บนยอดเนินภูเขาไฟรูปร่างเกือบกลมและมีเกาะอยู่ตอนกลางทะเลสาบ
หินลาวาของภูเขาไฟลูกนี้ ได้ไหลหลากท่วมแผ่กว้างปกคลุมพื้นที่มากเป็นอันดับที่  2
 รองจากภูเขาไฟกระโดงเป็นหินบะซอลต์คุณภาพดี เช่น ที่ภูเขาไฟกระโดง
จึงมีโรงโม่หินอยู่มากรองจาก ภูเขาไฟกระโดง

 HOME