กำเนิดภูเขาไฟ

ภูเขาไฟมีการกำเนิด   6  แบบ  ดังนี้
     1.  การกำเนิดในบริเวณจุดร้อน  (hot  spot)
บริเวณที่ความร้อนภายในโลกระบายออกมาสู่ผิวโลกมีการเคลื่อนที่ของหินหลอมละลายพุ่งขึ้นมาบนผิวโลกและกาลายเป็นภูเขาไฟ
 เช่น  ที่หมู่เกาะ  ฮาวาย  เป็นต้น
     2.  การกำเนิดจากแผ่นเปลือกโลก  (Plate)   เคลื่อนที่แยกออกจากกัน
จะมีหินหลอมละลายแทรกดันออกมาเกิดเป็นภูเขาไฟเป็นแนวติดต่อกัน  เช่น
 แนวสันเขาใต้สมุทร  (mid-oceanic   ridge)  ของมหาสมุทรแอตแลนติก
ต่อเนื่องไปยังมหาสมุทรอินเดีย  และมหาสมุทรปาซิฟิก
 เทือกเขาใต้สมุทรดังกล่าวบางจุดก่อตัวสูงพ้นผิวน้ำทะเลขึ้นมา  เช่น
 เกาะไอซ์แลนด์หมู่เกาะคานารี ซึ่งตลอดแนวทิวเขาใต้สมุทรนี้ก็คือ
แนวภูเขาไฟนั้นเอง   และเป็นบริเวณที่มีเปลือกโลกกำเนิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา
     3.  ภูเขาไฟที่เกิดจากการมุดสอด  (Subduxtion)  ของแผ่นสมุทร  (oceanic
 plate) เข้าไปใต้ทวีปเมื่อแผ่นสมุทรมุดลงไปลึกประมาณ  80-100  กิโลเมตร
 ความร้อนภายในโลกจะทำให้แผ่นทวีปหลอมละลายและมวลสารที่หลอมละลายนี้
จะลอยตัวขึ้นมาสู่ผิวโลก  (เพราะมีความหนาแน่นต่ำ  (เบา)
 กว่ามวลหินหลอมละลายในชั้นเนื้อโลกเอง)
 ทั้งความร้อนและแรงดันขึ้นมาของมวลสารเหล่านี้
จะทำให้เปลือกโลกบริเวณนั้นถูกหลอมละลายเป็นช่องว่าง
 เป็นช่องทางให้หินหลอมละลายดันตัวปะทุออกมาเป็นภูเขาไฟ
 ภูเขาไฟแบบนี้จะเกิดเป็นแนว ขนานกับแนวมุดตัว  (Subductive  zone)
 ของแผ่นสมุทร  และมักจะพบกระจายอยู่ตามริมฝั่งทวีป
 โดยจะอยู่ห่างจากแนวมุดตัวประมาณ  100  กม.  เช่น  แนวเทือกเขารอกกี้
 (Rocky   Mts.)  เทือกเขา  แอนดีส  (Andes  Mts.)  เทือกเขา  แคสเคด
 (Cascades   Mts.)  เป็นต้น  การเกิดของภูเขาไฟ
แบบนี้ทำให้เปลือกโลกถูกทำลายไป
 โดยอัตราการถูกทำลายไม่เท่ากันอาทิแผ่นสมุทรนาซกา  (Nazca   plate)
 มุดเข้าไปใต้ทวีปอเมริกาใต้  ปีละประมาณ  10-12  ซม.
     4.  ภูเขาไฟที่เกิดจากการมุดสอดของแผ่นสมุทรด้วยกัน
โดยแผ่นสมุทรที่มีความหนาแน่นสูงกว่าจะมุดเข้าไปใต้แผ่นสมุทรที่มีความหนาแน่นต่ำกว่า
เช่น แผ่นปาซิฟิก (Pacific Plate) มุดเข้าไปใต้แผ่นอินโด-ออสเตรเลีย
(Indo-Australian Plate) ทำให้เกิดแนวภูเขาไฟในประเทศนิวซีแลนด์
การมุดของแผ่นปาซิฟิกเข้าไปใต้แผ่นเปลือกโลกส่วนที่เป็นไหล่ทวีป (continental
shelf) ของแผ่นเอเซีย (Asian plate)
ทำให้เกิดหมู่เกาะภูเขาไฟเป็นที่ตั้งของประเทศญี่ปุ่น ไต้หว้น
และการมุดของแผ่นดินอินโด-
ออสเตรเลียเข้าไปใต้แผ่นเปลือกโลกส่วนที่เป็นไหล่ทวีปของแผ่นเอเซียเกิดเป็นหมู่เกาะภูเขาไฟและเป็นที่ตั้งของประเทศอินโดนีเซีย
เป็นต้น
     5. ภูเขาไฟเกิดจากการแตกแยกออกของแผ่นเปลือกโลกบนทวีป
ภูเขาไฟแบบนี้จะเกิดขึ้นโดยมีธารลาวาไหลออกมาเย็นตัวทับถมกลายเป็นที่ราบสูงลาวา
(Lava plateau) เช่น ที่ราบสูงโคลัมเบีย (Columbia plateau)
ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกาและซากภูเขาไฟในเขตอำเภอโชคชัย-ครบุรี
การปะทุของภูเขาไฟแบบนี้ลาวาจะดันออกมาตามรอยแยก ขึ้นสู่ผิวโลก ซึ่งเรียกว่า
Fussure eruption หรือ Flood basalt รอยแตกเหล่านี้จะมีระยะทางตั้งแต่ 2 - 3 ไมล์
จนถึงหลายร้อยไมล์
     6. ภูเขาไฟที่เกิดในรอยเลื่อย (Fault line) ในเขตหุบเขาผาชัน (Rift Vallay)
ลาวาจะไหลออกมาตามแนวรอยเลื่อน ซึ่งเป็นรอยแตกของเปลือกโลก
เป็นช่องทางระบายลาวาปะทุออกมาของหินหลอมละลายหรือลาวาขึ้นมาสู่ผิวโลก
เช่น ภูเขาไฟในอีสานใต้ ภาคเหนือของไทยและภาคตะวันออกของอัฟริกา เป็นต้น

HOME