การค้นพบไดโนเสาร์ชนิดต่างๆ ในประเทศไทย
แผ่นดินไทย โดยเฉพาะทางภาคอีสานนั้นเป็นดินแดนดึกดำบรรพ์มาก่อน คุณวราวุธ สุธีธร
นักโบราณชีววิทยาได้ให้ภาพในอดีตเมื่อประมาณ 200
ล้านปีก่อนไว้ว่าภาคอีสานเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินกว้างใหญ่ที่เรียกว่า " ลอเรเซีย "
ขณะที่ภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทยยังเป็นทะเลอยู่
พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคอีสานจะเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำธาร หนองบึงและทะเลสาบน้ำจืดมากมาย
มีสภาพอากาศที่ร้อนชื้น ฝนตกชุก สภาพแวดล้อมอุดมสมบูรณ์เหมาะสมที่พืชพันธุ์ต่างๆ
จำพวกปรง เฟิร์น จิงโก สน และปาล์มจะเจริญเติบโตเป็นป่าใหญ่
ไดโนเสาร์ชนิดต่างๆที่พบในประเทศไทย

1 สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส (Siammotyrannus isanensis)

สยามโมไทรันนิสอีสานเอนซิส เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ในวงศ์ไทรันโนซอริดี
มีความยาวประมาณ 6.5 เมตรหรือมีขนาดประมาณครึ่งหนึ่ง
ของ“ไทรันโนซอรัสเร็กซ์”หรือเจ้า“ทีเร็กซ์”ซึ่งเราพบเห็นบ่อยๆในภาพยนตร์และสยามโมไทรันนัสนี้ก็เป็นญาติกับเจ้าทีเร็กซ์ด้วยแต่มีชีวิตอยู่่ใน
คนละช่วงกัน คือสยามโมไทรันนัสจะอยู่ในยุคที่เก่ากว่า
โดยจะมีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเซียสตอนต้นส่วนทีเร็กซ์จะมีชีวิตอยู่ในช่วงยุคครีเตเซียสตอนปลาย
ในประเทศไทยเราพบฟอสซิลของสยามโมไทรันนัสที่บริเวณหินลาดยาว อ.ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536
โดยพบกระดูกสันหล้งหลายชิ้นโผล่ออกมาจากชั้นดินทรายต่อมาพบกระดูกสะโพกด้านซ้ายและกระดูกส่วนหางอีกหลายชิ้นเรียงรายต่อกันหล้งจาก
ที่คณะสำรวจ ไทย – ฝรั่งเศสได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดแล้วพบว่า
เป็นไดโนเสาร์สกุลใหม่ของไทยจึงได้ตั้งชื่อว่า “สยามโทไทรันนัส อีสานเอนซิส Siamotyrannus
isanensis, Buffetaut, Suteethorn and Tong , 1996

2. ภูเวียงโกซอรัส ไดโนเสาร์ซอโรพอดขนาดใหญ่

ในประเทศไทยเราได้พบกระดูกจำนวนหลายชิ้นที่ห้วยประตูตีหมา ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
กระดูกที่พบเป็นกระดูกขนาดใหญ่ ทั้งกระดูกขา กระดูกสะโพก กระดูกซี่โครง และกระดูกคอ
ลักษณะของกระดูกที่พบบอกได้ว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอตขนาดใหญ่ เดิน 4 เท้า มีคอยาว หางยาว
กินพืชเป็นอาหารนอกจากนี้ยังได้พบฟันไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ พวกคาร์โนซอร์
ในบริเวณกองกระดูกด้วยจำนวนกว่า 10 ซี่
เป็นหลักฐานบ่งได้ว่าไดโนเสาร์ซอโรพอตขนาดใหญ่ตัวนี้ถูกไดโนเสาร์กินเนื้อพวกคาร์โนซอร์กินเป็นอาหารหลังจากที่ถูกกินเนื้อแล้วกระดูก
ก็กระจัดกระจาย แล้วกระดูกก็ถูกตะกอนทับถมจนกลายเป็นฟอสซิล
ไดโนเสาร์ซอโรพอดกินพืชตัวนี้
เมื่อนำกระดูไปเปลี่ยบเทียบกับกระดูกซอโรพอดจากอเมริกาเหนือแล้วพบว่ามีขนาดใกล้เคียงกับ
คัมมาราซอรัส – Camarasaurus แต่มีหลายอย่างที่แตกต่างกัน แล้วพบอีกว่าไปคล้ายคลึงกับ
ซอโรพอดที่พบในประเทศจีนมากกว่า แต่ก็ยังไม่เหมือนกันทีเดียว จึงได้ชื่อใหม่
โดยได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อขอพระราชทานพระราชานุญาต อัญเชิญพระนามาภิไธย เป็นชื่อไดโนเสาร์
ซึ่งพระองค์ไม่ทรงขัดข้อง ไดโนเสาร์นี้จึงมีชื่อว่า ”ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่ – Phuwiangosauraus
sirindhornae”

3.คาร์โนซอร์ ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่

เราพบฟันของมันจำนวนหนึ่งที่ ภูประตูตีนหมา จังหวัดขอนแก่น มีลักษณะเป็นฟันแบนๆ
ปลายแหลมโค้งงอเล็กน้อย คล้ายมีดโค้ง
และมีคมที่ขอบทั้งสองด้านที่ขอบนั้นก็มีรอยหยักเหมือนมีดหั่นเนื้อ
ฟันลักษณะนี้เป็นฟันของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่พวกเทอโรพอด ซึ่งคาดว่าเป็นไดโนเสาร์
"คาโนซอร์" ที่มีหัวยาวถึง 2.5 ฟุต มีฟันแหลมคม แต่ละซี่ยาวประมาณ 3 นิ้ว ขาหน้า สั้นมีนิ้ว 3 นิ้ว
พร้อมเล็บแหลมคม ขาหลังใหญ่แข็งแรงความยาวจากหัวถึงหาง 10 เมตร เมื่อยืนขึ้นจะสูงเต็มที่ 3
เมตร

4. คอมพ์ซอกนาธัส ไดโนเสาร์ ตัวเท่าไก่

คอมพ์ซอกนาธัส เป็นไดโนเสาร์ลักษณะคล้ายนก หัวของมันมีขนาดเล็ก คอ ขา
และหางยาวส่วนแขนสั้นมีมือข้างละ 3 นิ้ว มีเล็บแหลมโค้ง
มีฟันที่แหลมคมเอาไว้กัดกินอาหารซึ่งน่าจะเป็นแมลงหรือสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็กๆ
ประมาณกันว่าคอมพ์ซอกนาธัสมีความยาวประมาณ 2 ฟุต และมีน้ำหนักเพียง 3
กิโลกรัมเท่านั้นเอง คอมพ์ซอกนาธัสนี้มีชีวิตอยู่ในช่วงจูแรสสิกตอนปลาย
พบในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเยอรมัน และ ตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส
รวมทั้งประเทศไทยด้วย
ในประเทศไทยได้พบกระดูกขนาดเล็ก 2 ชิ้น มีรูกลวงตรงกลางคล้ายกระดูกนกหรือกระดูกไก่
รวมอยู่กับกลุ่มกระดูกไดโนเสาร์ชนิดอื่น ที่บริเวณภูประตูตีนหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
หล้งจากการตรวจสอบกันเรียบร้อยแล้วพบว่าเป็นกระดูกขาหล้งท่อนล่างชิ้นหนึ่ง
และเป็นกระดูกขาหน้าท่อนบนอีกชิ้นหนึ่งของไดโนเสาร์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับคอมพ์ซอกนาธัสที่พบในแคว้นบาวาเรีย
ประเทศเยอรมันคอมพ์ซอกนาธัสที่เราพบในไทยตัวนี้ ประมาณว่ามีขนาดความยาวประมาณ 70
ซม. น้ำหนักประมาณ 3.5 กิโลกรัม

5. ซิทตาดคซอรัส ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว

ซิทตาโคซอรัส เป็นไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดหนึ่ง กินพืชเป็นอาหาร ในประเทศไทยพบที่
จังหวัดชัยภูมิ ในหินหมวดโคกกรวดของกลุ่มหินโคราช
ซึ่งเป็นหินในอายุยุคครีเตเซียสตอนต้นอายุประมาณ110ล้านปีคืออยู่ในช่วงหลังยุคครีเตเซียสไดโนเสาร์ปากนกแก้วพวกนี้เดิมพบว่ามีต้นกำเนิดอยู่ใน
บริเวณเอเชียตอนเหนือเอเชียกลาง แถบภาคเหนือของจีนมองโกเลียและไซบีเรียเท่านั้น
พอมีการพบในประเทศไทยจึงนับว่าเป็นการค้นพบครั้งแรก
ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซากฟอสซิลที่พบในประเทศไทยนี้เป็นส่วนกะโหลกด้านซ้าย
กรามล่างด้านขวา มีฟันครบมีลักษณะใกล้เคียงกับฟัน
ของไดโนเสาร์ปากนกแก้วที่พบที่ประเทศจีน ชื่อ ซิทตาโคซอรัส เหมยลีหยิงเอนซิส
แต่ไดโนเสาร์ปากนกแก้วที่พบในไทยมีบางอย่างที่แตกต่างไป จึงให้ชื่อเป็นชนิดใหม่ว่า
"ซิทตาโคซอรัส สัตยารักษ์คิ - Psittacosaurus sattayaraki " เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายนเรศ
สัตยารักษ์ ผู้ค้นพบ

6. สยามโมซอรัส ไดโนเสาร์เทอโรพอดพันธุ์ใหม่

 สยามโมซอรัส เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดพันธุ์ใหม่ที่พบในประเทศไทย โดยตั้งชื่อเต็มว่า
 สยามโมซอรัส สุธีธรนิ ( Siamosaurus suteethorni ) เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายวราวุธ สุธีธร
 ผู้มีส่วนสำคัญในการค้นพบฟอสซิลในประเทศไทย

7. สเตโกซิฟาเลียน

สเตโกซิฟาเลียน ไม่ใช่ไดโนเสาร์แต่เป็นสัตว์ในยุคแรกๆ
ซึ่งเก่าแก่กว่าไดโนเสาร์เสียอีกสเตโกซิฟาเลียนยังมีทั้งลักษณะของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลายชนอย่างละครึ่งรูปร่างก็เหมือนตัวซาาลามานเดอร์ขนาดใหญ๋
ซากฟอสซิลของสเตโกซิฟาเลียนที่พบในประเทศไทย พบที่บริเวณใหล้เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอ
คอนสาน จังหวัดชัยภูมิ เป็นส่วนกะโหลกช่วงที่ติดอยู่กับคอ ประมาณว่ามีอายุ 210
ล้านปีมาแล้วและมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร มีหัวที่แบน มีตาอยู่ส่วนบนของกะโหลก
ทำให้มองเห็นได้โดยรอบแม้จะจมอยู่ในน้ำเกือบมิดก็ตาม
จึงสันนิษฐานว่าสเตโกซิฟาเลียนจะใช้ชีวิตอยู่ในน้ำ